เมนู

สังขารทั้งปวง ขวนขวายให้เกิดวิปัสสนา. ข้อที่ภิกษุเป็นผู้มากด้วยโยนิโสมนสิ-
การ เป็นผู้ประกอบด้วยอัธยาศัยอันบริสุทธิ์ เป็นผู้ประกอบและขวนขวายใน
สมถะและวิปัสสนานี้ พึงทราบความเป็นผู้มากด้วยสุขและโสมนัส ในปัจจุบัน
นั้นแล. ด้วยเหตุที่ภิกษุเป็นผู้ตั้งอยู่ในสมถะ เป็นผู้ประกอบและขวนขวายใน
วิปัสสนา ย่อมเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง ขวนขวายให้เกิดวิปัสสนานั้น พึง
ทราบว่าเป็นผู้ปรารภเหตุ เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย.
ในคาถาทั้งหลาย พึงทราบอธิบายดังต่อไปนี้. บทว่า สํวิชฺเชเถว
ได้แก่พึงสังเวช คือ พึงทำความสลดใจนั้นเอง. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
สํวิชฺชิตฺวาน ก็มี. อธิบายว่า เป็นผู้มีความสลดใจตามนัยดังกล่าวแล้ว.
บทว่า ปณฺฑิโต ได้แก่ ผู้มีปัญญา. อธิบายว่าได้แก่ติเหตุกปฏิสนธิ (การปฏิ-
สนธิด้วยเหตุ 3 ประการ). บทว่า ปญฺญาย สมเวกฺขิย ได้แก่ พิจารณา
สังเวควัตถุ (วัตถุอันควรให้เกิดความสังเวช) ด้วยความสลดใจโดยชอบด้วย
ปัญญา. อีกอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วโดยชอบด้วยปัญญา บทที่เหลือในที่ทั้ง
ปวงมีความง่ายทั้งนั้น.
จบอรรถกถาโสมนัสสสูตรที่ 10
จบอรรถกถาวรรคที่ 1 ในทุกนิบาต
แห่งอรรถกถาอิติวุตตกะ ชื่อปรมัตถวิภาวินี ด้วยประการฉะนี้.

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมภิกขุสูตร 2. ทุติยภิกขุสูตร 3. ปนียสูตร 4. อตป-
นียสูตร 5. ปฐมสีลสูตร 6. ทุติยสีลสูตร 7. อาตาปีสูตร 8. ปฐมนกุ-
หนาสูตร 9. ทุติยนกุหนาสูตร 10. โสมนัสสสูตร และอรรถกถา.